วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การเขียนโปรแกรมเครือข่ายด้วยซ็อกเก็ต (Socket) ตอนที่ 8: UDP Server ด้วยภาษาจาวา (Java)

จากตอนที่ 7  ก็คงเข้าใจความแตกต่างระหว่างทีซีพี (TCP) กับยูดีพี (UDP) กันแล้วนะครับ คราวนี้เราจะมาเขียนโปรแกรมฝั่งเซิร์ฟเวอร์กัน โดยโปรแกรมเซิร์ฟเวอร์นี้จะทำงานเหมือน TCPServer คือรับข้อมูลสตริงจากไคลเอนต์ เอามาแปลงเป็นตัวอักษรตัวใหญ่ แล้วส่งกลับไปให้ไคลเอนต์ มาดูโค้ดกันเลยครับ


  1. import java.io.*; 
  2. import java.net.*; 
  3. class UDPServer { 
  4.   public static void main(String args[]) throws Exception 
  5.     { 
  6.     DatagramSocket serverSocket = new DatagramSocket(9876); 
  7.       byte[] receiveData = new byte[1024]; 
  8.       byte[] sendData  = new byte[1024];
  9.       while(true) 
  10.       { 
  11.             System.out.println("The server is waiting ");
  12.             DatagramPacket receivePacket = 
  13.              new DatagramPacket(receiveData, receiveData.length); 
  14.             serverSocket.receive(receivePacket);
  15.             String sentence = new String(receivePacket.getData());
  16.             InetAddress IPAddress = receivePacket.getAddress(); 
  17.             int port = receivePacket.getPort(); 
  18.             String capitalizedSentence = sentence.toUpperCase();
  19.             sendData = capitalizedSentence.getBytes(); 
  20.             DatagramPacket sendPacket = 
  21.                   new DatagramPacket(sendData, sendData.length, IPAddress, port); 
  22.               serverSocket.send(sendPacket); 
  23.         } 
  24.     } 
  25. }  
การสร้างซ็อกเก็ตจะใช้คลาส DatagramSocket ตามที่เขียนไว้ในบรรทัดที่ 6 ในที่นี้โปรแกรมเซิร์ฟเวอร์จะรอรับการติดต่ออยู่ที่พอร์ตหมายเลข 9876  บรรทัดที่ึ 7 และ 8 จะสร้างบัฟเฟอร์สำหรับรับและส่งข้อมูลตามลำดับ โดยในโปรแกรมนี้ระบุขนาดของการรับส่งข้อมูลไว้ที่ไม่เกิน 1024 ไบต์ บรรทัดที่ 12-13 สร้างแพ็กเก็ตรับข้อมูล โดยระบุว่าให้เอาข้อมูลมาเก็บไว้ในบัฟเฟอร์คือ receiveData ด้วยความยาวตามขนาดของบัฟเฟอร์ที่ประกาศไว้ ในตัวอย่างนี้คือ 1024 ไบต์ บรรทัดที่ 4 รออ่านข้อมูลที่ไคลเอนต์จะส่งมา โดยข้อมูลจะถูกเก็บลงแพ็กเก็ตที่ประกาศไว้ในบรรทัดที่ 12 

บรรทัดที่ 15-17 ดึงข้อมูลออกมาจากแพ็กเก็ต โดยบรรทัดที่ 15 เป็นการดึงตัวข้อมูลคือ บรรทัดที่ 16 และ 17 ดึงไอพีแอสเดรสและหมายเลขพอร์ตของไคลเอนต์ที่ส่งข้อมูลมาตามลำดับ สองบรรทัดนี้มีความจำเป็นเพราะการใช้โปรโตคอลยูดีพีไม่มีการสร้างการติดต่อไว้ก่อน ข้อมูลของผู้ส่งอย่างไอพีแอสเดรสและหมายเลขพอร์ตจะถูกส่งมาเป็นส่วนหนึ่งของแพกเก็ตด้วย

บรรทัดที่ 20 สร้างแพ็กเก็ตสำหรับส่งข้อมูลกลับ โดยระบุว่าจะส่งกลับไปที่ไหนโดยใช้ค่าหมายเลขไอพี และหมายเลขพอร์ตที่ดึงมาจากบรรทัดที่ 16 และ 17 ข้อสังเกตก็คือถึงแม้เราจะไม่ได้ระบุหมายเลขไอพีและหมายเลขพอร์ตของเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งในจุดนี้คือผู้ส่ง แต่ข้อมูลทั้งสองนี้จะถูกใส่เข้าไปในแพ็กเก็ตโดยอัตโนมัติ บรรทัดที่ 22 เป็นการส่งแพ็กเก็ตผ่านซ็อกเก็ตกลับไปให้ไคลเอนต์ 

สำหรับโค้ดของโปรแกรมนี้สามารถดาวน์โหลดได้ที่ github ของผมครับ ซึ่งจะได้ทั้งโปรแกรมเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนต์ ส่วนของไคลเอต์จะเขียนถึงในบล็อกถัดไปครับ

1 ความคิดเห็น: