วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การสร้างและใช้งาน Stateless Session Bean ด้วย NetBeans ตอนที่ 1

วันนี้เราจะมาสร้างเอนเทอร์ไพรส์แอพพลิเคชันอย่างง่าย ๆ โดยใช้ NetBeans กันครับ โดยวันนี้เราจะสร้าง Stateless Session Bean และเรียกใช้งานกัน และก็คงเดาได้นะครับว่าโปรแกรมที่เราจะสร้างก็คือ Hello World นั่นเอง :) ก่อนจะทำตามขั้นตอนใน Tutorial นี้ผมก็ให้ดาวน์โหลดและติดตั้ง NetBeans กันก่อนนะครับ โดยขอให้ดาวน์โหลด NetBeans ที่รองรับ Java EE สำหรับเวอร์ขันที่ผมใช้ตอนนี้คือล่าสุด 7.4 แต่จริง ๆ ตั้งแต่เวอร์ชัน 6 กว่า ๆ ก็ใช้ได้แล้วนะครับ เมื่อติดตั้งแล้วมาเริ่มกันเลยครับ

1. รัน NetBeans สร้างโปรเจกต์ใหม่โดยเลือกเป็น Enterprise Application ตามรูป 


2. .ใส่ชื่อโปรเจกต์ และคลิกที่ปุ่ม Next


3. เลือกออปชันตามรูปครับ 


สิ่งที่เรากำหนดในส่วนนี้คือ Application Server ท่ี่เราต้องการใช้ ในที่นี้คือ GlassFish และให้สร้าง EJB Module ให้เรา ซึ่งเราจะสร้าง Session Bean ใน EJB Module นี้ต่อไป และเราไม่ต้องการให้สร้าง Web Application Module ก็เพราะเราจะสร้าง Client ที่เป็น Application Client สำหรับตอนนี้ก็กดปุ่ม Finish ได้เลยครับ

4. เราจะได้รายการโปรเจกต์ดังรูป 


5. ในขั้นนี้เราจะสร้างโปรเจกต์เอาไว้เก็บ Remote Interface เรื่องจากในตัวอย่่างนี้เราจะสร้าง Remote Session Bean ซึ่งเราจะต้องสร้างโปรเจกต์ใหม่โดยเลือกเป็น Java Class Library ดังรูป 





หลังจากกดปุ่ม Finish เราจะได้รายการของโปรเจกต์เพิ่มขึ้นดังรูป 


6. เริ่มสร้าง Session Bean โดยเข้าไปที่โปรเจกต์ที่เป็น EJB Module แล้วคลิกขวาที่ Source Package เลือก New เลือก Session Bean ดังรูป


 7. เลือกประเภทของ Session Bean และทางเลือกต่าง ๆ ตามรูป


จะเห็นว่าเราเลือก Stateless และเลือก create interface เป็นแบบ remote ซึ่งเราจะต้องใส่ชื่อโปรเจกต์ที่เราเตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 5 เพื่อใช้เก็บ remote interface ที่ NetBeans จะสร้างให้อัตโนมัติ จากนั้นคลิกปุ่ม Finish เราจะได้ รายการของโปรเจกต์ดังรูป



จากรูปจะเห็นว่า NetBeans จะสร้าง interface ให้เราโดยเติมคำว่า Remote ต่อท้ายชื่อของ Session Bean ที่เราระบุ และจะสร้างโครงของคลาสสำหรับ Session Bean เพื่อให้เราใส่เมท็อดเพิ่มเติมลงไป

8. ขั้นนี้เราจะเขียนเมท็อดให้ Session Bean โดยให้คลิกขวาในบริเวณ editor ของ NetBeans เลือก insert code และเลือก Add Business Method 





9. ใส่รายละเอียดของเมท็อดดังรูป


แล้วกดปุ่ม OK หลังจากนั้น NetBeans จะสร้างโครงของเมท็อดให้ 

10. จากโค้ดที่ NetBeans สร้างให้ ให้แก้ไขให้เป็นดังนี้ 


เรียบร้อยครับ ตอนนี้เราก็ได้ Session Bean พร้อมใช้งานแล้ว ในตอนหน้าเราจะมาเขียน Client กัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น